ข่าวสุขภาพ
การรับมือกับไขมันทรานส์
เขียนโดย ธนาวัชร์ ธนาชววัฒน์ตั้งแต่ที่ได้มีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้มมา เรื่องการห้ามผลิต ห้ามนำเข้า ห้ามจำหน่ายไขมันทรานส์ในประเทศไทย เริ่มบังคับใช้นับจากวันประกาศ 180 วัน โดยในประกาศนี้ระบุว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์จากน้ำมันที่ผ่านกรรมวิธีเติมไฮโดรเจนเข้าไปนั้น ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ทำให้หลายๆ คนกังวลเป็นอย่างมาก
เราทราบดีว่า เมื่อรับประทานไขมันทรานส์เข้าไปในร่างกายจะก่อให้เกิดผลต่างๆ ในร่างกายตามมา โดยเฉพาะการทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และหากการอักเสบนั้นเรื้อรัง ก็เป็นสาเหตุแห่งการเกิดโรคเรื้อรังชนิดไม่ติดต่อต่างๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไขมันเกาะตับ เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของปัญหาของหลอดเลือดทั้งสิ้น ปัญหาใหญ่ที่ตามมาคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง เพราะว่าตัวไขมันทรานส์จะเข้าไปเพิ่มการสร้างคอเลสเตอรอลตัวเลว หรือ LDL ด้วย
เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเมื่อเรารับประทานไขมันทรานส์?
เมื่อเรารับประทานไขมันทรานส์เข้าไป ก็คล้ายกับการรับประทานไขมันทั่วไป คือจะถูกย่อยที่ลำไส้เล็กให้เป็นกรดไขมันต่างๆ ประกอบด้วย กรดไขมันทรานส์ กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ 1 ตำแหน่ง กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป ซึ่งจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด บางส่วนจะไปยังตับ ในขณะที่บางส่วน เช่น ไขมันทรานส์จะถูกเปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอล ก่อนจะดูดซึมเข้าสู่เลือดโดยระบบน้ำเหลือง หากว่าร่างกายไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็จะถูกเก็บไว้ในรูปไขมันคล้ายๆ กับไขมันชนิดอื่นๆ ที่สะสมในร่างกาย
แต่ปัญหาคือ เมื่อเรารับประทานไขมันทรานส์มากเกินไป นอกจากจะสะสมเป็นไขมันส่วนเกินในร่างกายแล้วยังเพิ่มไขมันตัวเลว หรือ LDL มากขึ้น และลดไขมันชนิดดี หรือ HDL ลง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรังอีก โดยการอักเสบนี้จะรบกวนการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการการเผาผลาญ รวมทั้งระบบฮอร์โมนในร่างกาย
การจัดการผลกระทบจากการบริโภคไขมันทรานส์ มีหลายวิธีที่สามารถเริ่มปฏิบัติด้วยตัวเอง ได้แก่
ลดการทานไขมันทรานส์ ขนมเบเกอรีที่มีส่วนผสมของมาการีนที่ผ่านการไฮโดรไลซ์
รับประทานผักและผลไม้ที่มีเส้นใยสูงระดับน้ำตาล
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
การเลือกรับประทานอาหาร การดีท็อกซ์กำจัดสารพิษในร่างกาย
-
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 16 กันยายน 2561
-
ฮิต: 5239